1.1 ข้อพึงประพฤติ ปฏิบัติต่อบริษัท ฯ
(1) ระลึกถึงความสำคัญในงานซึ่งเป็นธุรกิจของบริษัทฯ และมีความผูกพันที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตน ตามขั้นตอนและระเบียบที่กำหนดไว้
(2) วางแผนการทำงาน กำหนด และวิเคราะห์เป้าหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ โดยคำนึงถึงคุณธรรม จรรยาบรรณ ตลอดจนวัฒนธรรมของผู้ที่เกี่ยวข้อง
(3) มีความเพียรพยายามทำงานด้วยความขยันขันแข็ง ซื่อสัตย์ สุจริต ให้ความร่วมมือช่วยเหลือ ประสานงานอุทิศตนให้แก่งานของบริษัทฯ อย่างเต็มที่ ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอเพื่อให้ได้คุณภาพของผลงาน
(4) ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานอยู่เสมอ
(5) ใช้และรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างประหยัดและไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน
(6) รักษาความลับของบริษัทฯ โดยดูแลระมัดระวังมิให้เอกสาร หรือข่าวสารอันเป็นความลับของบริษัทฯ ถูกเปิดเผยรั่วไหลหรือตกไปถึงผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ ทั้งนี้รวมทั้งการไม่ให้เอกสารหรือข่าวสารของบริษัทฯ ที่ไม่พึงเปิดเผยแก่บุคคลภายนอก เว้นแต่ ได้รับอนุญาตจากบริษัทฯ
(7) ละเว้นหรือหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นต่อบุคคลภายนอก หรือสื่อมวลชนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ยังไม่มีนโยบาย หรือ แนวทางดำเนินการในเรื่องนั้นๆ อย่างแน่ชัด หรือเรื่องอื่นใดที่อาจกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และการดำเนินงานของบริษัทฯ

1.2 ข้อพึงประพฤติ ปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน
(1) ปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานด้วยการใช้กิริยา วาจาสุภาพเรียบร้อย มีน้ำใจ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(2) รักษาและเสริมสร้างความสามัคคีรวมทั้งให้ความร่วมมือระหว่างผู้ร่วมงานและช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ต่องานของบริษัทฯ โดยส่วนรวม
(3) ปฏิบัติตามคำแนะนำ หรือคำสั่งโดยชอบธรรมของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ การงาน และให้ความนับถือต่อผู้บังคับบัญชา และพนักงานอื่นของบริษัทฯ ที่มีอาวุโส
(4) ให้ความร่วมมือ สนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชา และให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อผู้บังคับบัญชา
(5) ปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความยุติธรรม เมตตา กรุณา ให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตนที่ดีให้ความสนใจทุกข์สุขตามควร ดูแลเอาใจใส่ และพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างดี โดยการถ่ายทอดความรู้ในงาน สนับสนุนให้ได้รับการฝึกอบรม เพื่อให้ได้เพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์อยู่เสมอ
(6) หลีกเลี่ยงการนำข้อมูลหรือเรื่องราวของพนักงานผู้อื่น ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานและเรื่องส่วนตัวไปเปิดเผย หรือวิพากษ์วิจารณ์ ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่พนักงานหรือภาพลักษณ์โดยรวมของบริษัทฯ

1.3 ข้อพึงประพฤติ ปฏิบัติต่อบุคคลภายนอก
(1) ใช้กิริยา วาจา สุภาพเรียบร้อย ต่อบุคคลภายนอกที่มาติดต่อ หรือเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ
(2) อำนวยความสะดวก และให้การต้อนรับผู้มาติดต่อด้วยความสุภาพ เรียบร้อย เต็มใจ และมีน้ำใจ
(3) ชี้แจงนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องตามขอบเขตหน้าที่ของตน หากเรื่องใดที่ไม่สามารถชี้แจงได้ ให้แจ้งแก่ผู้บังคับบัญชา ตามลำดับขั้นเพื่อทราบ และดำเนินการต่อไป
(4) ส่งเสริมความสัมพันธ์ และความเข้าใจอันดีต่อบุคคลภายนอกที่มาติดต่อหรือเกี่ยวข้อง ด้วยไมตรีจิตและความไม่เอารัดเอาเปรียบ

1.4 ข้อพึงประพฤติ ปฏิบัติต่อสังคม
(1) ร่วมสร้างสรรค์ และพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ของสาธารณชน
(2) ส่งเสริมและปฏิบัติตามธรรมเนียม จารีตประเพณี ศีลธรรม วัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งวิญญูชนพึงปฏิบัติหรือโดยสามัญสำนึกของบุคคลทั่วไป
(3) ให้ความร่วมมือในการทำประโยชน์แก่สังคม ตามโอกาส และความพร้อม
(4) ปฏิบัติตนตามที่ชอบที่ควร และเป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม

จรรยาบรรณธุรกิจ

บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จํากัด (มหาชน)

 

จรรยาบรรณธุรกิจต่อคู่ค้า

จรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจต่อคู่ค้า

(Supplier Code of Conduct)

 

  • การปฏิบัติต่อคู่ค้า

บริษัทฯ มีนโยบายที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทางธุรกิจกับคู่ค้า ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความเกื้อหนุนที่เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย ให้การปฏิบัติต่อคู่ค้า อย่างเสมอภาค โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ หลีกเลี่ยงสถานการณ์
ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมทั้งปฏิบัติตามพันธสัญญาอย่างเคร่งครัด เพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน
โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

  • ปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลง หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อคู่ค้า กรณีที่จะไม่สามารถปฏิบัติได้ต้องรับแจ้งกับคู่ค้าเป็นการล่วงหน้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย
  • ไม่เลือกปฏิบัติต่อคู่ค้า ไม่มีอคติ สร้างการแข่งขันอย่างเป็นธรรมระหว่างคู่ค้า
  • ปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม
    ต่อทั้งสองฝ่าย
  • จัดให้มีระบบการจัดการและติดตามเพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาอย่างครบถ้วนและป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดซื้อจัดหา
  • การจัดซื้อจัดหาต้องดำเนินการอย่างโปร่งใสโดยให้ข้อมูลแก่คู่ค้าอย่างเท่าเทียมกัน ถูกต้อง และ
    ให้ระยะเวลาอย่างพอเพียงในการเตรียมตัว และ/หรือ เสนอราคาต่อบริษัทฯ
  • ไม่ทำการค้ากับคู่ค้าที่ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ได้แก่ หมวด 3 การใช้แรงงานหญิง และ หมวด 4 การใช้แรงงานเด็ก เป็นต้น
  • การจัดซื้อ จัดหา ต้องกำหนดเกณฑ์ในการประเมินที่ครอบคลุมด้านต่างๆ ได้แก่ QA / QC, Safety Health and Environmental Capabilities เพื่อให้ได้คู่ค้าที่มีคุณภาพ
  • ปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และมีมาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    ที่เกิดจากกระบวนการผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง และการทำลายตลอดวัฏจักรชีวิต ของสินค้าและบริการ ทั้งสองฝ่าย
  • ให้มีการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม และร่วมสนับสนุนกิจกรรมที่อำนวยประโยชน์ต่อสาธารณะ รวมถึงกิจกรรมที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน
  • เคารพในสิทธิและความคิดเห็นของคนในชุมชน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งชนเผ่าพื้นเมือง ผู้อพยพ และกลุ่มเปราะบาง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจ และจัดให้มีการสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธ์
    กับชุมชน ชนเผ่าพื้นเมือง ผู้อพยพ และกลุ่มเปราะบางอย่างสม่ำเสมอ

⦁ เปิดเผยข้อมูล อย่างถูกต้อง และเพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุน
⦁ ไม่เปิดเผยข้อมูลที่ขัดต่อข้อกำหนดในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
⦁ ใช้วิจารณญานในการให้ข้อมูลต่างๆ อย่างระมัดระวังและรอบคอบ โดยสามารถปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลได้ หากพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อมูลดังกล่าวยังเป็นความลับ (Insider Information) หรือเป็นข้อมูลที่อาจทำให้บริษัทเสียความสามารถในการแข่งขัน
⦁ ไม่รับนัดหรือตอบคำถามเกี่ยวกับผลประกอบการ ก่อนวันรายงานผลการดำเนินงาน 30 วัน ของแต่ละไตรมาส (Silent Period)
⦁ ไม่ใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ส่วนตนและผู้อื่น
⦁ ไม่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม ในการเลือกดำเนินกิจกรรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมกับ หน่วยงานภายนอก

การควบคุมภายใน

สรุปความเห็นของคณะกรรมการบริษัท

ระบบการควบคุมภายในที่ดีสามารถป้องกัน และลดความเสี่ยงหรือความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อองค์กรได้เป็นอย่างดี บริษัทฯ ได้นำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) เป็นแนวทางหนึ่งในการกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้รับการรับรอง Against Corruption) หรือ (CAC) เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการต่อต้าน
การคอร์รัปชันในทุกรูปแบบ

ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัท ได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ เป็นผู้สอบทาน ติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริษัท ทราบเป็นประจำ

ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ได้พิจารณาระบบการควบคุมภายในของฝ่ายบริหารที่ผ่านการพิจารณา
ของคณะกรรมการตรวจสอบแล้วมีความเห็นตรงกันว่า บริษัทฯ มีระบบควบคุมภายในที่เหมาะสมและเพียงพอในการดูแล
การดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กฎหมาย ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทฯ
ได้จัดให้มีบุคลากรอย่างเพียงพอที่จะดำเนินการตามระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญต่อการควบคุมภายใน
อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีระบบควบคุมภายในในเรื่องการติดตามควบคุมดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อยให้สามารถป้องกันทรัพย์สินของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจากการที่กรรมการหรือผู้บริหารนำไปใช้โดยมิชอบหรือโดยไม่มีอำนาจรวมถึงการทำธุรกรรมกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งและบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน อย่างเพียงพอแล้ว สำหรับการควบคุมภายในในหัวข้ออื่นคณะกรรมการบริษัท เห็นว่า บริษัทฯ มีการควบคุมภายในที่เพียงพอแล้วเช่นกัน ตลอดจนในปีที่ผ่านมาคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัท ไม่เคยได้รับรายงานว่ามีข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำคัญจากผู้สอบบัญชีและฝ่ายตรวจสอบภายในแต่อย่างใด

นอกจากนี้ ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ คือ นางสาวกรรณิการ์ วิภานุรัตน์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ทะเบียน 7305 ซึ่งเป็นผู้สอบทานงบการเงินรายไตรมาสและผู้ตรวจสอบงบการเงินประจำปี 2564 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2564 มิได้แสดงความเห็นว่า บริษัทฯ มีข้อบกพร่องที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน ในรายงานการสอบบัญชีดังกล่าวแต่ประการใด

อนึ่ง บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญใน 5 องค์ประกอบหลักสำหรับการควบคุมภายใน ดังต่อไปนี้

  1. 1. การควบคุมภายในองค์กร (Control Environment)

คณะกรรมการบริษัท และผู้บริหาร สนับสนุนวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์และพันธกิจ มีสภาพแวดล้อมของการควบคุมภายในที่ดี และเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน ดังนี้

  • กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายการดำเนินธุรกิจไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติของฝ่ายบริหารและพนักงาน และมีการติดตามอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อคู่ค้า
    ตลอดจนผู้ร่วมลงทุน เพื่อประโยชน์ของบริษัทในระยะยาว
  • บริษัทฯ จัดโครงสร้างองค์กรให้มีความเหมาะสม สามารถอำนวยให้ฝ่ายบริหารดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจและปรับปรุงเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป โดยมีการมอบอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการกำหนดตัวชี้วัด ( Key Performance Indicator : KPI ) เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานและติดตามผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับเป้าหมายรวมทั้งมีการทบทวนเป้าหมายประจำปี ให้พนักงานทราบถึงบทบาท อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของตน
  • การกำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชันเป็นลายลักษณ์อักษรสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ที่คลอบคลุมถึงบทลงโทษ ช่องทางรับข้อร้องเรียน และการคุ้มครองต่อผู้แจ้งเบาะแส ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร โดยมุ่งหวังว่าพนักงานทุกคนจะร่วมกันสอดส่องดูแล หรือร้องเรียนเมื่อพบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน
  • กำหนดนโยบายและวิธีการในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึง ขั้นตอนการวางแผน
    และบริหารอัตรากำลังพนักงานในภาพรวมของบริษัทฯ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมทั้งทบทวนอัตรากำลัง พนักงาน เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจ

ทั้งนี้ ในปี 2564 บริษัทฯ ได้รับรางวัลแห่งความภาคภูมิใจกับรางวัล “Sustainability Disclosure Award” ประจำปี 2564 ในฐานะองค์กรตัวอย่างที่มีการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนที่ครบถ้วน น่าเชื่อถือ และมีการสื่อสารต่อสาธารณะและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง สะท้อนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีและเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส รวมถึงบริษัทฯ ได้เข้าร่วมและได้รับรางวัลคุณภาพ “CSR-DIW Continuous Award 2021” ภายใต้โครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ที่จัดขึ้นโดย กรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรมอันเป็นรากฐานสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพธุรกิจให้มีความเข้มแข็ง สร้างความเชื่อมั่นและผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแก่ผู้ลงทุน นำไปสู่การยกระดับพัฒนาคุณภาพธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนมั่นคง

  1. 2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)

คณะกรรมการบริษัท และผู้บริหาร ให้ความสำคัญในการบริหารความเสี่ยง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการนำพาองค์กรสู่เป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อกำกับดูแลการบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทฯ ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยมีแนวทางบริหารจัดการ ดังนี้

  • บริษัทฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมการพัฒนา
    การบริหารความเสี่ยง และประเมินความเสี่ยงภาพรวมของบริษัทฯ โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน “ESG” (สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance)) ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงโอกาสและผลกระทบ ตลอดจนกำหนดมาตรการที่ใช้ในการบริหาร
    ความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงการประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินความเสี่ยงว่าเป็นเครื่องมือที่บ่งบอกล่วงหน้าถึงสัญญาณ
    ที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่บริษัทฯ ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้จัดทำการประเมินความเสี่ยง ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ให้มีการกำหนดมาตรการในการบริหารความเสี่ยง
    เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กรได้ และให้มีการทบทวนมาตรการในการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

ในขณะเดียวกัน ทุกหน่วยงานที่อยู่ในระบบมาตรฐานการจัดการนั้น บริษัทฯ ได้จัดทำระเบียบการกำหนดบริบทองค์กรและประเมินความเสี่ยงธุรกิจเพื่อกำหนดวิธี/แนวทางในการกำหนดบริบทขององค์กรผู้มีส่วนได้ – ส่วนเสียและการประเมินความเสี่ยงธุรกิจและนำผลการประเมินความเสี่ยงธุรกิจที่ได้มาพิจารณากำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยงในแต่ระดับและนำไปสู่การบริหารความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพขององค์กร

  1. 3. การควบคุมการปฏิบัติงาน (Control Activities)

บริษัทฯ ได้กำหนดกิจการควบคุม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ ให้อยู่ในระดับ
ที่ยอมรับได้ ดังนี้

  • บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อระบบควบคุมภายใน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยบริษัทฯ
    มีการกำหนดภาระหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน มีการควบคุมดูแลการใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้เกิดประโยชน์ และมีการแบ่งแยกหน้าที่ปฏิบัติงาน และผู้ติดตามควบคุมและประเมินผลออกจากกัน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุล
    และตรวจสอบระหว่างกันอย่างเหมาะสม รวมทั้งการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในกระบวนการปฏิบัติงาน
  • บริษัทฯ มีนโยบายเพื่อให้การพิจารณาอนุมัติธุรกรรมคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ เป็นสำคัญ
    และพิจารณาโดยถือเสมือนเป็นรายการที่กระทำกับบุคคลภายนอก
  • บริษัทฯ จัดทำระเบียบ นโยบาย ข้อกำหนด คู่มือการปฏิบัติงานเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกำหนดขอบเขตอำนาจ หน้าที่ของบุคลากรแต่ละระดับ และขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน และมีการสอบทาน
    การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียน นโยบาย ข้อกำหนด และคู่มือการปฏิบัติงานต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
  1. 4. ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล (Information & Communication)

บริษัทฯ ให้ความสำคัญในคุณภาพของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูลซึ่งเป็นส่วนสำคัญ
ที่สนับสนุนให้การควบคุมภายในสามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางให้การบริหารจัดการระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล ดังนี้

  • บริษัทฯ กำหนดชั้นความลับของข้อมูล แนวทางการจัดเก็บเอกสารสำคัญและเอกสารควบคุม รวมถึงข้อมูลประกอบการปฏิบัติงานทั้งจากภายในและภายนอก เพื่อความครบถ้วน ถูกต้อง เพียงพอต่อการปฏิบัติงานและทันต่อการใช้งานอย่างรวดเร็ว
  • บริษัทฯ กำหนดให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้อง และบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญต่อความถูกต้อง เชื่อถือได้ และความทันเวลาของข้อมูลสารสนเทศต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลที่มีสาระสำคัญ เพื่อให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ
    เป็นไปอย่างถูกต้อง และทันท่วงที โดยบริษัทฯ ได้จัดให้มีช่องทางการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรเป็นไปอย่างมีระบบ
    และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ได้ให้มีการบันทึกข้อมูลทางด้านบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานทางบัญชีที่รับรองทั่วไป
    และบันทึกข้อมูลทางบัญชีอย่างสม่ำเสมอและในด้านของสารสนเทศที่จัดส่งให้แก่คณะกรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้นบริษัทฯ ดำเนินการจัดส่งเป็นการล่วงหน้าก่อนวันประชุมเพื่อให้มีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจ
  1. 5. ระบบการติดตาม (Monitoring Activities)
    • บริษัทฯ มีกระบวนการติดตามและประเมินความเพียงพอของการควบคุมภายใน พร้อมทั้งกำหนดแนวทางพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนี้
    • บริษัทฯ จัดให้มีระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้คณะกรรมการบริษัท และผู้บริหารสามารถติดตามข้อมูล
      ได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที พร้อมกับสามารถทบทวนประเมินผล แนะนำและปรับปรุงเกี่ยวกับแผนการดำเนินธุรกิจได้
      ควบคู่ไปกับฝ่ายตรวจสอบภายในที่ทำการตรวจสอบการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ซึ่งฝ่ายตรวจสอบภายในได้ดำเนินการตรวจสอบระบบควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอตามแผนงานการตรวจสอบประจำปี และรายงานโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ โดยผลการตรวจสอบที่ผ่านมาไม่พบว่ามีข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำคัญต่อระบบการควบคุมภายในแต่ประการใดซึ่งฝ่ายตรวจสอบภายในมีหน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานหลักและกิจกรรมทางการเงินที่สำคัญของบริษัทฯ ได้ดำเนินการ
      อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้แนวทางที่กำหนด และกฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอีกทั้งบริษัทฯ ได้แต่งตั้งนางสาวศิริพร เสือสกุล ให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายในของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2551 ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายในผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านตรวจสอบภายใน และมีความเข้าใจในกิจกรรมและการดำเนินงานของบริษัทฯ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบ
      เพื่อสนับสนุนภาระหน้าที่และความรับผิดชอบทุกหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบที่ได้รับมอบหมายมาจากคณะกรรมการบริษัทให้มีประสิทธิผล โดยจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทุกไตรมาส และมีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำในด้านต่างๆ เพื่อให้ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร และยังมุ่งเน้นการพัฒนางานตรวจสอบภายในให้มีคุณภาพ
      และสนับสนุนให้พนักงานตรวจสอบภายในมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

  • บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการด้านคุณภาพ ISO 9001 : 2015 ,มาตรฐานการจัดการ
    ด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015 และมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001:2018
    จากสถาบันรับรองระบบ Intertek
    ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบควบคุมภายในเช่นเดียวกัน ที่มีทีมงาน Internal Audit
    ควบคุมและบริหารโดย QMR ที่แต่งตั้งจากกรรมการผู้จัดการ ทั้งนี้ Auditor ดังกล่าวต้องผ่านการอบรมระบบ IA
    เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายต่างๆ หากผลการตรวจออกมาพบปัญหาหรือไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด หน่วยงานนั้นจะได้รับการร้องขอให้แก้ไข CAR (Corrective Action Request) และถูกตรวจสอบซ้ำในเรื่องดังกล่าวถี่ขึ้น แล้วนำเข้าที่ประชุม Management Reviewed ที่กรรมการผู้จัดการเป็นประธานที่ประชุม มีการบันทึกและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงทุกๆ
    6 เดือนหน่วยงานภายนอกที่ให้การรับรองระบบ SGS และ Intertek เข้าตรวจติดตามเพื่อยืนยันว่าทุกหน่วยงานที่อยู่ในระบบมาตรฐานการจัดการยังคงปฏิบัติตามระบบที่วางไว้อย่างมีประสิทธิผลจริง

บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการป้องกันการให้สินบนและต่อต้านคอร์รัปชันทุกรูปแบบเพื่อให้การตัดสินใจและการดำเนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านการให้สินบนและต่อต้านคอร์รัปชันได้รับการพิจารณาและปฏิบัติอย่างระมัดระวัง บริษัทฯ จึงได้จัดทำ “นโยบายต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชัน” 

บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นในฐานะนักลงทุนในหลักทรัพย์และเจ้าของบริษัทฯ โดยควบคุมบริษัทฯ
ผ่านคณะกรรมการบริษัทที่ผู้ถือหุ้นได้แต่งตั้งให้ทำหน้าที่แทนตน และมีสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของบริษัทฯ ดังนั้นบริษัทฯ จึงมีนโยบายในการสนับสนุนส่งเสริม และอำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น เอกสารเพิ่มเติม

ผลการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2564 ที่จัดทำโดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (Thai Investors Association) บริษัทฯ ได้รับคะแนนเท่ากับร้อยละ 100

บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับบำบัดกำจัดกากอุตสาหกรรม เน้นการให้บริการที่ครบวงจรอย่างมีคุณภาพ เพื่อความพึงพอใจของลูกค้า คำนึงถึงความสำคัญของการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดูแลรับผิดชอบต่อสังคม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนและผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม มีความมุ่งมั่นจะปรับปรุงพัฒนาด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัยและความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง เรามีเจตจำนงที่จะดำเนินงานภายใต้ความมุ่งมั่น ดังนี้

  • ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย ตลอดจนข้อกำหนดของลูกค้า
  • ป้องกันและลดมลพิษที่เกิดจากการดำเนินงานขนส่ง บำบัดและกำจัดกากอุตสาหกรรม ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • อบรมและปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสำนึกในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยและความเสี่ยงอันเกิดจากการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุน ส่งเสริมสภาพแวดล้อมและสถานที่ทำงานให้ปลอดภัย เพื่อขจัดอันตราย ลดอุบัติเหตุ ความเสี่ยง การบาดเจ็บ การเจ็บป่วย และโรคอันเกิดจากการปฏิบัติงาน ในทุกหน่วยงานขององค์กร
  • รับฟังความคิดเห็นและให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม