การเติบโตอย่างยั่งยืน

bar-chart
เศรษฐกิจ
ความมั่นคงทางการเงินและการบริการที่เป็นเลิศ
  • บริการที่มีคุณภาพและตามสัญญาให้กับลูกค้า
  • สร้างรายได้สม่ำเสมอและผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลแก่ผู้ถือหุ้น
  • การบริหารและจัดการความเสี่ยงในทุกมิติ
  • แสวงหาความร่วมมือธุรกิจระยะยาวกับผู้มีส่วนได้เสียที่ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ
  • สร้างนวัตกรรมทางพลังงานให้กับประเทศ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
group
สังคม
การยอมรับในแนวทางการดำเนินธุรกิจ
  • ปฏิบัติตามกฎหมาย ส่งเสริมความเท่าเทียมและเคารพสิทธิมนุษยชน
  • ดูแลความปลอดภัยและอาชีว อนามัยของพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย
  • ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม
  • การสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ เท่าเทียมและทั่วถึง
earth
สิ่งแวดล้อม
และสภาพแวดล้อมที่ดีของสังคม
  • ปฏิบัติตามมาตรการทางกฎหมาย ตลอดจนข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  • ประเมินผลกระทบและกำหนดแนวทางบริหารจัดการความเสี่ยง
  • เพิ่มและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง พลังงาน และทรัพยากรอื่นๆ
  • ประยุกต์ใช้มาตรฐานสากล เพื่อยกระดับระบบจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น
research
ธรรมาภิบาล
ความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ
  • กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องและปรับปรุงระบบงานให้สอดคล้องตามหลักสากลมีความเชื่อมโยง บูรณาการระหว่างกันในการปลูกฝัง ป้องกัน และปราบปรามการทุจริต
  • การนำแนวคิดการบริหารจัดการแบบ 3 ป. คือ “ป้องกัน ปลูกฝัง เปิดโปง” มาใช้ในองค์กร เพื่อปรับปรุงกระบวนการ ตรวจสอบภายในให้ครอบคลุมทุกระดับการดำเนินงาน และเกิดการบูรณาการ ระหว่างกัน
  • ลงนามบันทึกข้อตกลงการป้องกันการต่อต้านการทุจริตในองค์กร

นโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

กำหนดนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจส่งมอบคุณค่าต่อ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยแนวนโยบายครอบคลุมประเด็น ดังนี้

1
การกำกับดูแลที่ดี

ปฏิบัติตามข้อกำหนด โปร่งใสรักษาสมดุลมิติความยั่งยืน

4
การดำเนินธุรกิจย่างเป็นธรรม

ต่อต้านการคอร์รัปชั่นและดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ

6
สิทธิมนุษยชนและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน

ปฏิบัติและจัดให้มีสวัสดิการอย่างเท่าเทียม สนับสนุนการทำประโยชน์ต่อสังคม

2
ความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการและการพัฒนานวัตกรรม

พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อผู้มีส่วนได้เสียและพัฒนาคุณภาพการดำเนินงาน

5
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

ส่งมอบคุณค่าด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยสู่ชุมชน

3
แนวทางการเปิดเผยข้อมูล

เปิดเผยข้อมูลการบริหารจัดการและผลดำเนินงานเพื่อความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือ

โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เบตเตอร์ ฯ มีโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ครอบคลุมถึงการดำเนินงานทั้ง 3 ด้าน อันได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมและชุมชน โดยมีคณะกรรมการทั้งหมด 4 คน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมพร้อมให้คำแนะนำในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน

กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแล กิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

กำกับดูแล กำหนดแนวทางดำเนินงาน และการสื่อสารด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนตามมาตรฐานสากลและแนวทางที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรายงานผลต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลเป็นระยะ

ดำเนินโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียรวมถึงสื่อสารการดำเนินงานดังกล่าว

รายงานผลต่อคณะกรรมการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

องค์การสหประชาชาติได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 17 ข้อ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2558 โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามให้การรับรองที่จะดำเนินกิจการต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งมีกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ 15 ปี
ในปี 2561 บริษัทฯ เชื่อมโยงเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืน (SDGs) เข้ากับกลยุทธ์ในการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งสิ้น 7 ด้าน ดังนี้
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระดับความสอดคล้อง รายละเอียดอยู่ในบทกลยุทธ์มุ่งสู่ความยั่งยืน
สมรรถนะองค์กร อุตสาหกรรม
เป้าหมายที่ 4

การศึกษาที่เท่าเทียม

ดูแลและส่งมอบคุณค่าแก่ “ทุกคน”

อย่างจริงใจ

เป้าหมายที่ 6

การจัดการน้ำและสุขาภิบาล

ดูแลและจัดการโดยไม่มีการปล่อยออกสู่ภายนอก
เป้าหมายที่ 7

พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้

ก้าวสู่การเป็นพลังงานที่สะอาด
เป้าหมายที่ 8

การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ส่งมอบประสบการณ์แห่งความประทับใจ

 

เป้าหมายที่ 9

อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน

ส่งเสริมมาตรฐานด้านความปลอดภัย

และมั่นคง

 

เป้าหมายที่ 16

สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก

ส่งเสริมมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน
เป้าหมายที่ 17

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการและการบริหาร

ความเสี่ยง

หมายเหตุ : ระดับความสอดคล้องกับบริษัทในระดับต่างๆ   สูง    ปานกลาง   น้อย